Categories สุขภาพ

ผู้สูงอายุ ออกกำลังกายอย่างไรจึงจะเหมาะสม

การออกกำลังกายนั้น เป็นสิ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เหมาะสำหรับทุกเพศทุกวัย เพื่อให้ร่างกายมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บได้เป็นอย่างดี และยังทำให้มีจิตใจที่แจ่มใสอีกด้วย ควรออกกำลังกายเป็นประจำทุกวัน หากขาดการออกกำลังกายไป ร่างกายอาจจะเสื่อมโทรมลงไปทุกวัน อาจเป็นสาเหตุของการเกิดโรคต่าง ๆ ตามมาได้อีกด้วย  สำหรับผู้สูงอายุ ถือได้ว่า การออกกำลังกายมีความจำเป็นมากที่สุด เพราะหากไม่ออกกำลังกายเลย ร่างกายก็จะถดถอย นำไปสู่ภาวะต่าง ๆ ได้อย่างแน่นอน หากร่างกายไม่ได้รับเคลื่อนไหวเลย ก็อาจเป็นสาเหตุของการเกิดโรคต่าง ๆ ตามมาอย่างแน่นอน

ผู้สูงอายุ ควรออกกำลังกายอย่างไร

ในผู้ส่งอายุ การออกกำลังกายนั้นควรมีวิธีการออกกำลังกายที่เหมาะสม เพื่อให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี และยังเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นและกระดูก ช่วยลดความเสี่ยงของการหกล้มและอุบัติเหตุต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี สามารถทำได้ดังรายละเอียดต่อไปนี้ 

  1. Balance Exercise เป็นการออกกำลังกายในผู้สูงอายุที่ได้รับความนิยม เป็นการออกกำลังกายที่ฝึกการทรงตัว และสมรรถภาพในการเดินได้เป็นอย่างดี ช่วยป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุได้เป็นอย่างดี สามารถออกกำลังกายได้มากมายหลายแบบเช่น
    • ไทชิ เป็นการออกกำลังกายที่ช่วยในเรื่องของการทรงตัว เพราะผู้สูงอายุจะได้ฝึกการรักษาสมดุลเมื่อร่างกาย   เพื่อสามารถนำไปใช้ในการปรับการทรงตัวในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี
    • การเต้นลีลาศ โดยให้ผู้สูงอายุเต้นรำแบบ beguin ซึ่งเป็นจังหวะดนตรีที่สม่ำเสมอ มีการก้าวเท้าให้สัมพันธ์กับจังหวะ ในทิศทางต่าง ๆ  เมื่อสามารถเต้นเข้าจังหวะจะได้ฝึกการทรงตัวขณะที่ร่างกายมีการเคลื่อนไหว
    •  ฝึกออกกำลังกายพื้นฐานเพื่อเพิ่มการทรงตัว เช่น การยืนทรงตัวขาเดียว การเดินต่อเท้า การเดินเป็นวงกลมหรือรูปเลขแปด เป็นการฝึกการทรงตัวขณะร่างกายอยู่นิ่งและเคลื่อนไหวตามลำดับ เพื่อเพิ่มทักษะการทรงตัว จากง่ายไปยาก
  1. Aerobic Exercise เป็นการออกกำลังกาย ของกล้ามเนื้อมัดใหญ่ เช่นการวิ่ง การปั่นจักรยาน การว่ายน้ำ สำหรับผู้สูงอายุ ที่ไม่สามารถวิ่ง ปั่นจักรยาน หรือ ว่ายน้ำได้ ก็สามารถ เลือกเป็นการเดิน โดยเดินต่อเนื่องกัน 10 นาที หากเหนื่อยก็พัก และเดินต่อจนครบ 30 นาที ซึ่งล้วนเป็นการใช้กล้ามเนื้อ ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อมัดใหญ่ ทั้งยังกระตุ้นให้เกิดการเผาผลาญพลังงาน ในร่างกาย ทำให้หัวใจสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ได้ดี
  2. Strength Exercis  เป็นการออกกำลังกาย โดยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ  เพราะในผู้สูงอายุ มีมวลกล้ามเนื้อเล็กลง ส่งผลให้แขนขาลดลง มีไขมันเข้ามาแทนที่ หากกล้ามเนื้อมีความแข็งแรง ก็จะส่งผลดีในการใช้ชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี สามารถออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อได้ด้วยการใช้ยางยืด การยกดัมเบล ขวดน้ำ เป็นต้น มีการเพิ่มความหนักของแรงต้าน โดยเริ่มจากน้ำหนักเบา และค่อย เพิ่มน้ำหนักขึ้นไปทีละนิด ทำท่าละ 8-10 ครั้ง 2 รอบต่อวัน และทำอย่างสม่ำเสมอ
  3. Flexibility Exercise การออกกำลังกายเพื่อคงพิสัยการเคลื่อนไหวของข้อต่อต่าง ๆ เช่น ข้อไหล่ข้อเข่า ข้อสะโพก หากมีการจำกัดหรือข้อต่อไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ดี จะส่งผลต่อการเดินและการใช้ชีวิตประจำวันได้

บทสรุป 

การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ ถือว่าเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก ควรได้รับการเอาใจใส่ดูแล เพื่อให้การออกกำลังกายในผู้สูงอายุมีความปลอดภัยและเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด เพื่อให้ผู้สูงอายุได้มีร่างกายที่แข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ ที่สำคัญต้องออกกำลังกายอย่างเหมาะสมที่สุดเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้