COO คือ อะไร แตกต่างจาก CEO อย่างไร

องค์กรธุรกิจที่มีระบบบริหารจัดการที่ดีและประสบความสำเร็จ ไม่ได้เกิดจากการมีวิสัยทัศน์และการวางแผนบริหารจัดการที่ดีของผู้ประกอบการเท่านั้น แต่การวางโครงสร้างของบุคลากรให้ครอบคลุมตั้งแต่การบริหารระดับสูง ที่เรียกกันว่า CEO และ COO จนถึงตำแหน่งผู้ปฏิบัติงานก็เป็นปัจจัยสำคัญ ที่ช่วยให้องค์กรธุรกิจประสบความสำเร็จและพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว

CEO คืออะไร

เชื่อว่าคนส่วนใหญ่คุ้นเคยและรู้จักคำว่า CEO ซึ่งเป็นตัวย่อของคำว่า Chief Executive Officer หมายถึง บุคคลที่มีอำนาจและความรับผิดชอบสูงสุดในองค์กรหรือบริษัทนั้น ทำหน้าที่เป็นประธานหรือหัวหน้าฝ่ายบริหารสูงสุด โดยได้รับมอบอำนาจหน้าที่จากคณะกรรมการอำนวยการ หรือบอร์ดของบริษัท ให้มีอำนาจในการจัดการ ซึ่งรวมถึงการกำหนดนโยบาย การตัดสินใจ และการใช้อำนาจจัดการอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ดังนั้นผู้ที่เป็น CEO จึงต้องเป็นบุคคลที่มีความรู้และความสามารถสูง และไม่สามารถทำงานเพียงคนเดียวได้ จึงต้องมี COO หรือมือขวาของ CEO เป็นผู้ช่วย

COO คืออะไร แตกต่างจาก CEO อย่างไร

COO คือ อะไร

เมื่อทำความเข้าใจกับคำว่า CEO ซึ่งหมายถึง บุคคลที่มีอำนาจและความรับผิดชอบสูงสุดในองค์กรหรือบริษัทนั้น ๆ แล้ว จะเห็นว่าผู้ที่ทำหน้าที่ CEO นอกจากการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล ในฐานะผู้บริหารยังมีหน้าที่ในการตัดสินใจ แนะนำการปฏิบัติงานให้กับบุคลากร รวมไปถึงการนำเสนอนโยบาย วางกลยุทธ์ สร้างวัฒนธรรมองค์กร ปกครองดูแล บริหารจัดการองค์กร จะเห็นว่าบทบาทและอำนาจหน้าที่ของ CEO นั้นมีมาก ทำให้ต้องมี COO เป็นผู้ช่วย

คำว่า COO ย่อมาจาก Chief Operating Officer หมายถึง ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ ทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลความเรียบร้อยในทุกส่วนในเรื่องของการจัดการและการบริหาร แล้วคอยรายงานความเคลื่อนไหวและบทสรุปให้แก่ CEO

ทักษะ และบทบาทหน้าที่สำคัญของ COO

บทบาทหน้าที่ของ COO เป็นการสนับสนุนการทำงานของ CEO  เป็นหลัก จึงมีหน้าที่รับผิดชอบในการกำกับดูแล และจะต้องเป็นผู้รับฟังปัญหาของแต่ละแผนกไม่ว่าจะเป็นปัญหาภายในหรือเป็นปัญหาภายนอกจากผู้บริโภค หรือผู้รับจ้างงานส่วนกลางที่เป็นตัวกลางประสานงานคอยรายงานความเคลื่อนไหวและบทสรุปให้แก่ CEO ได้รับรู้อย่างใกล้ชิด

ผู้ที่ทำหน้าที่ COO จึงไม่ใช่ใครก็ได้ที่จะสามารถทำหน้าที่ดำเนินการบริหารต่าง ๆ ได้ดีในทุกส่วนแต่ต้องเป็นคนที่มีทักษะ multitasking หรือมีประสบการณ์ มีความรอบรู้ในด้านต่าง ๆ เช่น

  • สามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว และแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี
  • สามารถทำงานภายใต้แรงกดดันสูงได้ และมีไหวพริบปฏิภาณในการจัดการปัญหาหรือสามารถ

เล็งเห็นปัญหาที่อาจจะส่งผลกระทบในระยะยาวได้เป็นอย่างดี

  • เป็นบุคคลที่ตัดสินใจรวดเร็ว กล้าคิด กล้าตัดสินใจที่เฉียบขาดและมีทักษะที่แหลมคม
  • สามารถตัดสินใจในเรื่องบางอย่างแทน CEO ได้เสมือนว่าตนเป็นประธานบริษัท
  • มีความรู้เชิงลึกของทุก ๆ แผนกเพื่อที่จะได้รับฟังปัญหาจากหัวหน้าแผนกเมื่อเจอปัญหาหรือ

เจอสิ่งที่ไม่คาดคิดจะได้เข้าใจถึงปัญหาได้อย่างลึกซึ้งและแก้ปัญหาได้อย่างถูกจุด

  • มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่พนักงานทุกภาคส่วน
  • มีความกระตือรือร้นต่องานเพื่อให้งานออกมาดีที่สุด สามารถทำงานเป็นผู้ดูแลความเรียบร้อย

ในทุกส่วนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • สามารถแก้ปัญหา และลดแรงเสียดทานของการดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ ของบริษัทได้เป็นอย่างดี

สรุป

COO หรือชื่อเต็มว่า Chief Operating Officer เป็นตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการต่าง ๆขององค์กร ตั้งแต่ระดับย่อยจนไปถึงระดับบริหาร ซึ่ง COO จะต้องเป็นผู้ที่มีทักษะที่ประกอบไปด้วย การจัดการประสิทธิภาพการทำงาน การบริหารทรัพยากรของบริษัท การจัดการโครงการให้ดำเนินได้อย่างดี โดย COO จะเป็นตำแหน่งที่ทำงานใกล้ชิดกับ CEO เปรียบเสมือนมือขวาของ CEO นั้นเอง