เกล็ดเลือดต่ำ เกิดจากอะไร อาการและวิธีการรักษา

เกล็ดเลือดต่ำ (Thrombocytopenia)  คือภาวะที่ผู้ป่วยมีเกล็ดเลือดจำนวนน้อยกว่า 150,000เกล็ดต่อไมโครลิตร โดยผู้ป่วยที่เป็นโรคเกล็ดเลือดต่ำมักจะมีอาการฟกช้ำดำเขียวหรือเป็นจุดจ้ำๆ ตามผิวหนังหากรุนแรงก็จะมีอาการเลือดออกมาก โดยสาเหตุเกิดจากร่างกายผลิตเกล็ดเลือดบริเวณไขกระดูกไม่เพียงพอ หรือภูมิคุ้มกันร่างกายเกิดการทำลายเกล็ดเลือดเกล็ดเลือดต่ำเกิดจากสาเหตุอะไรและจะมีวิธีรักษาด้วยวิธีไหนเรามาศึกษาไปพร้อมๆ กันเลยดีกว่า

สาเหตุที่ทำให้เกล็ดเลือดต่ำ

โดยปกติแล้วคนเราจะมีเกล็ดเลือดอยู่ประมาณคนละ 150,000 – 450,000 เกล็ดต่อไมโครลิตรแต่ละเกล็ดจะอยู่ได้ 10 วันและจากนั้นก็จะผลิตเกล็ดเลือดขึ้นมาใหม่จากบริเวณไขกระดูกรวมถึงผลิตเซลล์เม็ดเลือดขาวและเม็ดเลือดแดง และหากร่างไม่สามารถผลิตเกล็ดเลือดออกมาเพียงพอจะทำให้เกิดการทำลายเม็ดเลือดมากกว่าที่ผลิตออกมาและทำให้เกิดภาวะเกล็ดเลือดต่ำนั่นเองและสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะเกล็ดเลือดต่ำมีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภทด้วยกันดังนี้

1.สาเหตุจากการสร้างเกล็ดเลือด

  • โรคโลหิตจางจากไขกระดูกฝ่อ
  • การสัมผัสสารเคมีบางชนิด
  • โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวและมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
  • การเข้ารับการรักษาโดยการฉายรังสีหรือการทำเคมีบำบัดที่เป็นการรักษาโรคมะเร็ง
  • การใช้ยาบางชนิด
  • การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ
  • ร่างกายขาดแร่ธาตุและวิตามินบี12 โฟเรท และ ธาตุเหล็ก
  • พันธุกรรมเช่นภาวะภูมิต้านทานบกพร่อง

2.สาเหตุจากการทำลายเกล็ดเลือด

  • เกิดจากโรคภูมิต้านทานตนเอง หรือโรคออโตอิมมูน
  • เกิดจากภาวะ Immune Thrombocytopenia: ITP
  • โรคไขข้ออักเสบหรือรูมาตอย
  • โรคลูปัสหรือโรคเอสแอลอี
  • การใช้ยาบางชนิด

3.สาเหตุจากเกล็ดเลือดถูกกักตัวอยู่ที่ใดที่หนึ่งมากเกินไป

สาเหตุนี้เกิดจากม้ามที่มีหน้าที่ขจัดเชื้อโรคและเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ตายแล้วให้ออกจากกระแสเลือดซึ่งปกติแล้วเกล็ดเลือดประมาณ 1 ใน 3 จะถูกกักอยู่ตามม้ามแต่หากร่างกายมีการติดเชื้อย่างเช่นโรคมะเร็ง หรือโรคตับแข็ง เกล็ดเลือดบางส่วนจะถูกกักที่ม้ามมากเกินไปทำให้ม้ามโตส่งผลให้การไหลเวียนของเกล็ดเลือดไม่เพียงพอในกระแสเลือดและเกิดเป็นภาวะเกล็ดเลือดต่ำในที่สุด

อาการที่แสดง

สำหรับอาการที่แสดงที่บ่งบอกว่าเป็นโรคเกล็ดเลือดต่ำได้ผู้ป่วยจะมีอาการเลือดออกแต่บางรายอาจจะไม่พบอาการจนกระทั่งมีการเจาะเลือดตรวจ อาการของผู้ป่วยจะขึ้นกับจำนวนเกล็ดเลือดเพราะหากยังมีจำนวนเกล็ดเลือดที่เพียงพอก็จะไม่แสดงอาการออกมาเท่าไหร่แต่ถ้ามีเกล็ดเลือดที่น้อยและต่ำมากจะมีอาการเลือดไหลไม่หยุด รวมถึงอาการต่างๆ ที่พบได้ดังนี้

  • ผู้ป่วยมักจะมีรอยซ้ำสีแดง ม่วง และสีน้ำตาลกระจายทั่วใต้ผิวหนัง
  • เลือดออกตามเงือกและจมูก
  • ถึงแม้จะเป็นบาดแผลเล็กน้อยก็จะมีเลือดออกเป็นจำนวนมากและหยุดยาก
  • ในเพศหญิงจะมีประจำเดือนมามากผิดปกติ

วิธีการรักษาเกล็ดเลือดต่ำ

สำหรับผู้ป่วยที่เป็นเกล็ดเลือดต่ำแพทย์จะทำการรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรงของอาการในผู้ป่วยแต่ละรายโดยการรักษาจะทำการรักษาตามอาการเช่น ในผู้ป่วยที่มีเกล็ดเลือดต่ำไม่มาก หากเกิดบาดแผลมีเลือดไหลไม่มากอาจจะไม่จำเป็นเข้ารับการรักษา แต่ในผู้ป่วยที่มีอาการเกล็ดเลือดต่ำที่มีสาเหตุมาจากการใช้ยาบางชนิด แพทย์จะทำการรักษาโดยการให้หยุดใช้ยาที่เป็นต้นเหตุ หรือให้รับประทานยาเพื่อยับยั้งภูมิคุ้มกันในผู้ป่วยที่ป่วยเกล็ดเลือดต่ำที่มีสาเหตุมาจากปัญหาของระบบภูมิคุ้มกันแต่ในผู้ป่วยที่มีเกล็ดเลือดต่ำมากแพทย์อาจจะทำการรักษาดังต่อไปนี้

  • งดให้ใช้ยาที่มีผลต่อการทำงานของเกล็ดเลือดอย่างเช่นยาแอสไพริน และยาไอบูเฟน
  • งดดื่มแอลกอฮอล์เพราะจะยิ่งทำให้อาการแย่ลงได้
  • หลีกเลี่ยงกีฬาที่ต้องใช้แรงกระแทกและการปะทะที่อาจทำให้บาดเจ็บได้เช่นกีฬาฟุตบอล ศิลปะการต่อสู้เป็นต้น
  • ใช้แปรงสีฟันที่มีขนแปรงอ่อนนุ่มเพื่อหลีกเลี่ยงการทำให้เลือดออกในเหงือกและไรฟันขณะที่แปรงฟัน
  • สวมใส่อุปกรณ์เพื่อเพิ่มความปลอดภัยเพื่อป้องกันการบาดเจ็บในขณะที่ทำกิจกรรมต่างๆ เช่นใส่ถุงมือหรือสวมแว่นตาในขณะที่ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า คาดเข็มขัดนิรภัยในขณะที่ขับขี่รถยนต์อย่างนี้เป็นต้น

เกล็ดเลือดต่ำป้องกันได้อย่างไร

การป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดภาวะเกล็ดเลือดต่ำสามารถทำแต่ก็ขึ้นกับปัจจัยหรือสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะเกล็ดเลือดต่ำและการป้องกันเบื้องต้นสามารถทำได้ดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เพราะแอลกอฮอล์จะไปชะลอการสร้างเกล็ดเลือดต่ำ
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารเคมีที่รุนแรงอย่างเช่นสารกำจัดศัตรูพืช สารเบนซีน และสารหนู เพราะจะทำให้ร่างกายชะลอการผลิตเกล็ดเลือด
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีผลต่อการผลิตเกล็ดเลือดอาจทำให้เลือดออกหรือเลือดจางได้อย่างเช่นกลุ่มยา แอสไพริน (Aspirin) และไอบูโปรเฟน (Ibuprofen)
  • หากต้องเข้ารับการฉีดวัคซีนควรปรึกษาแพทย์ก่อนเพราะอาจจะส่งผลกระทบต่อภาวะเกล็ดเลือดต่ำได้ อย่างเช่นวัคซีนอีสุกอีใส หัดเยอรมันและวัคซีนป้องกันโรคคางทูมเป็นต้น

ผู้ป่วยที่เป็นโรคเกล็ดเลือดต่ำมักจะมีภาวะเลือดออกง่าย ร่างกายมีรอยฟกซ้ำง่ายจึงเป็นอุปสรรคในการใช้ชีวิตเพราะจะต้องคอยระวังในเรื่องของการทำกิจกรรมต่างๆ เพราะฉะนั้นหากรู้ว่าป่วยเป็นโรคเกล็ดต่ำให้ดูแลสุขภาพร่างกายให้ดีงดกิจกรรมที่ทำให้เสี่ยงและปฏิบัติตามคำแนะนำแพทย์อย่างเคร่งครัดเพียงเท่านี้ก็จะปลอดภัยมากขึ้น